top of page
1. พัฒนาการและการปรับตัวทางเพศของวัยรุ่น
เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอย่างรวดเร็วมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น สัดส่วนของอวัยวะในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น แขนและขามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มือและเท้ามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าอวัยวะอื่นๆจึงดูเหมือนว่ามือและเท้าใหญ่ผิดปกติ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย มีความเข้าใจและความรู้สึกนับถือตนเองมากขึ้น เป็นต้น
1.1 พัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น
นอกจากพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์แล้ว ในช่วงวัยรุ่นยังมีการพัฒนาการทางเพศซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและหน้าที่ของอวัยวะเพศ ทำให้มีลักษณะทางเพศที่แสดงถึงความพร้อมของอวัยวะสืบพันธุ์ (Reproductive Organs) ที่จะทำงานเต็มที่ เป็นผลมาจากอิทธิพลของฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อทั้ง 4 ต่อม ได้แก่ ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และต่อมเพศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายซึ่งเรียกว่า “ลักษณะประจำตัวทางเพศขั้นที่สอง (Secondary Sex Characteristic)” ดังต่อไปนี้
วัยรุ่นชาย
1. รูปร่างเปลี่ยนไป กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น พละกำลังมากขึ้น
2. มีขนขึ้นตามร่างกาย แขนขา รักแร้ รอบอวัยวะเพศ และโคนขาด้านใน ตลอดจนมีหนวดเคราขึ้นตามใบหน้า และรอบริมฝีปาก
3. เสียงเปลี่ยนจากเดิม เป็นเสียงห้าว แปร่งขึ้น
4. ขนาดลูกอัญฑะโตขึ้นเมื่ออายุ 10-12 ปี ตามด้วยการเจริญเติบโตขององคชาต
5. องคชาตมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า มีการแข็งตัว เมื่อมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือจากการสัมผัส ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายตัวของเส้นเลือด มีเลือดมาคั่งอยู่ จึงมีการขยายขนาดและแข็งตัวขึ้น
6. การแข็งตัวขององคชาตและการหลั่งน้ำกามในเวลากลางคืนที่เรียกว่า "ฝันเปียก" เป็นลักษณะที่แสดงว่าร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์เริ่มเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เป็นการผ่อนคลายความกดดันทางเพศ และไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
วัยรุ่นหญิง
1. เสียงทุ้ม
2. ทรวกอกขยาย
3. สะโพกผายออก
4. มีประจำเดือนครั้งแรกอายุประมาณ 12 – 13 ปี
5. ปกติในรอบ 28 วัน จะมีไข่สุก 1 ใบ
6. ประจำเดือนแต่ละครั้งไม่เท่ากันอาจช้าหรือเร็วขึ้นเดือนล่ะ 3 – 5 วัน
1.2 การปรับตัวทางเพศของวัยรุ่น
พัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ดังนั้นวัยรุ่นจึงเป็นวัยที่จะต้องมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดังนี้
1. ให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและทางเพศของตนเอง
2. รู้จักปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม
3. รู้จักการปรับตัวเข้าเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ
4. ถ้ามีปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ควรปรึกษาผู้รู้ เช่น พ่อ แม่ ครูอาจารย์ที่นับถือ เป้นต้น
2. วัยรุ่นกับเจตคติทางเพศ
2.1 ความหมายของเจตคติ
หมายถึง สภาวะทางจิตใจหรือความพร้อมทางจิตใจของบุคคลที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องต่าง จะมีแนวโน้มสูงที่จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นตามแนวทางที่เขาเชื่อและรู้สึก
2.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตคติทางเพศของวัยรุ่น
1) ครอบครัว เป็นสถาบันแรกที่ให้การอบรมเลี้ยงดู รวมถึงการสอนและปลูกฝังความรู้ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยในการเปลี่ยนแปลงเจตคติทางเพศได้ โดยเฉพาะพ่อแม่ย่อมพร้อมที่จะใก้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกเสมอ
2) เพื่อน เพื่อนจะมีอิทธิต่อเจตคติทางเพศของวัยรุ่นอย่างมากจึงควรร่วมกันแนะนำให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องตามกรอบวัฒนธรรมไทย
3) วัฒนธรรม หมายถึง ผลรวมของความคิด ความเชื่อ ค่านิยม การรับรู้ และปฏิบัติที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งสังคมหนึ่งๆ ยึดถือสืบปฏิบัติมาเป็นเวลานาน
4) สื่อ มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปลูกฝังเจตคติทางเพศ โดยเฉพาะในกลุ่มของวัยรุ่นที่อยากรู้อยากลองในสิ่งใหม่ๆตัวอย่างสื่อนี้ เช่น ป้ายโฆษณา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น
3. ปัญหาและผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
3.1 สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์สถานการณ์ดังกล่าวที่อาจเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เช่น
1. เจตนาหรือยินยอมได้รับสิ่งกระตุ้นทางเพศ
2. ไปเที่ยวกับเพื่อนสองต่อสอง (ชายและหญิง)
3. การต้องเข้าไปอยู่ด้วยกันตามลำพังในสถานที่ลับตาคน
4. การดื่มสุราใช้ยากล่อมประสาท
5. เหตุการณ์พาไป
3.2 ปัญหาและผลกระทบ
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่พบในกลุ่มวัยรุ่นไทย คือ การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน อาจจะเกิดโดยที่วัยรุ่นไม่ได้คาดคิด ไม่ได้ตั้งใจ เป็นต้น
bottom of page